โรคของปลาทองและวิธีการรักษา


 


9โรคของปลาทองและวิธีการรักษา


1. โรคหนอนสมอ (Anchor worms)
อาการ : หนอนสมอจะมีขนาดความยาว 0.6-1 เซนติเมตร หนอนสมอจะใช้ส่วนหัวฝัง
เข้าไปในตัวปลาและยื่นส่วนหางออกมาทำให้เห็นเหมือนมีเส้นด้ายเกาะติดอยู่ที่ตัวปลา (ภาพที่ 46)
ถ้าดึงออก ส่วนที่เป็นสมอมักจะขาดติดอยู่ใต้ผิวหนังทำให้เกิดแผล เป็นทางให้แบคทีเรียเข้าสู่ตัวปลา
ได้ ปลาที่พบหนอนสมอจะมีอาการซึมไม่กินอาหาร ว่ายถูตัวกับขอบตู้หรือบ่อ และมีรอยแดงช้ำเป็นจ้ำ
ตามตัว เนื่องจากปลาระคายเคืองเป็นอย่างมาก จะเอาตัวถูข้างบ่อ
การรักษา : แช่ปลาในสารละลาย ดิพเทอเร็กซ์ 0.25-0.5 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ตลอดไป และแช่
ซ้ำทุก 7 วัน รวมระยะเวลารักษา 4 ครั้งหรือเวลารักษา 1 เดือน
:?:โรคเห็บ (Fish lice) Argulus sp.
อาการ : เห็บมีลักษณะกลมแบบคล้ายรูปจาน ขนาดยาว 3 - 5 มิลลิเมตร มีขา 8 ขา
แต่ละขายังแยกเป็นขาละ 2 คู่ (ภาพที่ 47) ปลาที่มีเห็บเกาะอยู่จะว่ายถูตัวกับข้างบ่อ เพื่อให้เห็บหลุด
เกล็ดปลาจะหลุดเป็นแผล ซึ่งทำความเสียหายมากเนื่องจากปรสิตนี้สามารถขยายพันธุ์เร็ว
การรักษา : แช่ปลาที่มีเห็บในสารละลาย ดิพเทอเร็กซ์ในอัตราส่วน 0.25-0.5 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร
แช่ตลอดไปและแช่ซ้ำทุก 7 วันต่อครั้ง รวมระยะเวลารักษา 4 ครั้ง หรือเวลารักษา 1 เดือน
2. โรคจุดขาวหรืออิ๊ค (White spot "Ich")
อาการ : เกิดจากโปรโตซัวขนาดใหญ่ที่มีรูปร่างเป็นรูปไข่ Ichthyophthirius multifilis
โดยจะฝังอยู่ที่ผิวและเหงือกของปลาปลาจะสร้างเซลล์ผิวหนังชั้นนอกเพิ่มขึ้นจนหุ้มปรสิตหมด ทำให้
บริเวณนั้นกลายเป็นจุดขาว ๆ ระคายเคือง ผิวหนังมีอาการคันปรสิตจะขยายพันธุ์เจริญเต็มที่ หลุดออก
จากตัวปลา ว่ายน้ำเป็นอิสระส่วนหนึ่งจะสร้างเกราะหุ้มตัวให้ตัวอ่อน เมื่อสภาพเหมาะสมเกราะก็จะแตก
ออก ตัวอ่อนว่ายเข้าติดตัวปลาต่อไป ถ้าเกาะไม่ได้ตัวอ่อนจะตายภายใน 4 วัน โรคจะลามภายใน 7-8
ชั่วโมงเท่านั้น มักเกิดช่วงหน้าฝน เมื่อปลากระทบน้ำฝนหรือหนาวเย็นจัด ปลาจะมีอาการเซื่องซึม ครีบ
เปื่อย ไม่ค่อยเคลื่อนไหว และว่ายน้ำถูกับข้างบ่อ
การรักษา : ใช้มาลาไคท์กรีน 0.1-0.2 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ตลอดไป และแช่ซ้ำ 2-3 ครั้ง ห่างกัน
ครั้งละ 5-7 วัน : มาลาไคท์กรีนร่วมกับฟอร์มาลิน อัตรา 4 ซีซี กับ 1 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร

3. โรคเชื้อรา (Fungus)
อาการ : พบบริเวณผิวหนัง ครีบ บริเวณมีบาดแผล และในไข่ปลาที่ไม่ได้รับการผสมลักษณะเป็นเส้นใยอยู่
เป็นกลุ่ม ปลาที่ได้รับเชื้อ Saprolegnia sp. จะมีปุยขาวคล้ายปุยสำลีเกาะติดตามลำตัวที่ได้รับความ
บอบช้ำหรือมีบาดแผลตามตัว ราจะเข้าเกาะทันทีราเจริญที่อุณหภูมิ 25-28 องศาเซลเซียส และมีวงจร
ชีวิต 1-2 วัน เท่านั้น
การรักษา : แช่ปลาในน้ำที่ผสมเกลือ 3-5 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร นานตลอดไป หรือใช้มาลาไคท์กรีน
0.1-0.2 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร หรือ 2 ซีซี ต่อน้ำ 1 ลิตร แช่จนกว่าปลาจะหายป่วย ซึ่งอาจต้องแช่ซ้ำ
2-3 ครั้ง


ที่มา...http://blog.school.net.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น